โอกาสสปาไทยอนาคตสดใส


 

โอกาสของอุตสาหกรรมสปาในประเทศไทย

ภาพรวม อุตสาหกรรมสปามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านจeนวนผู้มาใช้บริการและสถานที่ให้บริการ มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร สถานที่และทรัพยากร และมีบริการสนับสนุนสุขภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ อาทิ นวดไทย การใช้สมุนไพรไทย และมีจุดเด่นด้านอัธยาศัยและมารยาทในการให้บริการ ทาให้ธุรกิจบริการมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง กล่าวคือ ในปี 2547 ไทยมีรายได้จากการใช้บริการในธุรกิจสปา ประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นกว่า 9,000 ล้านบาทในปี 2549 โดยในปี 2551 ธุรกิจสปาในไทยมีผู้เข้าใช้บริการสปาถึงประมาณ 4 ล้านครั้ง (เพิ่มขึ้นจาก 3.6 ล้านครั้งในปี 2549) และเฉลี่ยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้บริการสปา เป็นชาวต่างชาติ ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ สร้างรายได้รวมมากกว่า 14,000 ล้านบาท และสร้างงานมากกว่า 5,000 คน โดยสปาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและเป็นรายได้หลัก คือ สปาประเภท Hotel & Resort Spa ซึ่งมีกลุ่มตลาดหลักเป็นชาวต่างชาติที่มีกาลังซื้อสูง และ Day Spa ซึ่งกลุ่มลูกค้าคนไทยได้ให้ความนิยมใช้บริการมากขึ้น

เป้าหมายของอุตสาหกรรมสปาไทย
ตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลมีนโนบายผลักดันและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งภูมิภาคเอเชีย (Medical Hub of Asia) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Capital Spa of Asia/Thailand as a world class spa destination จึงผลักดันการสร้างมาตรฐานและเอกลักษณ์ธุรกิจสปาไทยสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งการตลาดเชิงรุกในประเทศเป้าหมาย โดยประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจสปาไทย ผลักดันนักธุรกิจไทยขยายตลาดในต่างประเทศ ทั้งการจัดตั้ง สร้างเครือข่าย ร่วมทุน การสร้างแบรนด์ ฯลฯ จนในปัจจุบันชื่อเสียงและมาตรฐานสปาไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทาให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสปาไทย อาทิ บริษัทจัดตั้ง/บริหารสปา บุคลากรสปา อุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ใช้ในสปา เป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. 2553-2557) ซึ่งระบุวิสัยทัศน์ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพระดับโลก สปาเพื่อสุขภาพและนวดเพื่อสุขภาพ ดังจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
นอกจากการเติบโตของสถานประกอบการธุรกิจสปา ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสปา คือ ผลิตภัณฑ์สปาไทย อุปกรณ์สปา และอุปกรณ์ตกแต่งสถานประกอบการสปา อาทิเช่น ของประดับตกแต่ง เคหะสิ่งทอ เครื่องแบบพนักงาน/ผู้รับบริการ ซอฟท์แวร์ ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงาน มากกว่า 400,000 คนและมีเป้าหมายรายได้ (พ.ศ.2555-2559) ของอุตสาหกรรมในประเภทธุรกิจส่งเสริมสุขภาพ (สปาและนวดเพื่อสุขภาพ)

 

ความคิดเห็น