การตลาดสปาสู่ความสำเร็จ

 

การตลาดสำหรับธุรกิจสปา


การจัดการด้านการตลาด (Marketing Management) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารกิจการสปาและนวดเพื่อสุขภาพ โดยบุคคลาการในสปาร่วมด้วยช่วยกันดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการวางแผนการตลาด (Marketing Plan) ที่ดีโดยผู้จัดการสปา จะทำให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องวางแผนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) และการพัฒนาบุคลากร พอจำแนกได้ ดังนี้
  1. กลยุทธ์ด้านบริการ (Product)

  2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price)

  3. กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

  4. กลยุทธ์ด้านประชาสัมพันธ์ (Promotion)

  5. กลยุทธ์ด้านบุคลากร (Personnel)

1. กลยุทธ์ด้านบริการ (Product)

บริการของสปา ประกอบด้วยสิ่งสำคัญของธุรกิจ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส การจัดการในแต่ละด้านจะมีความแตกต่างกัน การออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการให้บริการสปาก็แตกต่างกัน ผู้บริหารสปาจำเป็นต้องรู้องค์ประกอบแต่ละด้านว่าต้องมีการดูแลให้เกิดความเรียบร้อยและน่าสนใจต่อผู้มาใช้บริการอย่างไร
  • การจัดการด้านรูป หรือบรรยากาศภายของสปา (Sight or Ambient)

    • คือ การดูแลความเรียบร้อยภายในสปา และความสวยงามของสถานที่ทั้งภายในและภายนอก ให้เกิดความแตกต่างและบ่งบอกถึงระดับของสปานั้น ๆ
  • การจัดการด้านรส

    • เปรียบกับการได้สัมผัสทางรสชาติของความเป็นสปา เพื่อการดูแลสุขภาพโดยองค์รวม คือ จะต้องถูกสุขอนามัย โดยเน้นถึงความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ ประกอบการให้บริการ การรับประทาน หรือการดื่มสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารต้องเน้นถึงหลักโภชนาการเพื่อสุขภาพ
  • การจัดการด้านกลิ่น

    • เป็นหัวใจสำคัญของสปา เพราะการบำบัดแบบองค์รวมจะต้องสร้างความสมดุลทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ
    • สุคนธบำบัด หรือ กลิ่น มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบการหายใจ (Respiratory System) ระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) ระบบความจำ (Memory System) และการควบคุมอารมณ์ นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ช่วยในการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย การักษาโรคบางชนิด ได้อีกด้วย
    • การใช้กลิ่นบำบัดจึงควรระวังในการเลือก โดยต้องใช้กลิ่นเฉพาะน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่ควรใช้น้ำหอมที่มาจากสารสังเครำะห์ที่มีลักษณะกลิ่นที่เหมือนกับดอกไม้หรือสมุนไพร โดบจะต้องพิจารณาทั้งกลิ่น และราคาเป็นเบื้องต้น
  • ารจัดการด้านเสียง

    • เสียงที่ใช้ในสปาจะเป็นสิ่งบำบัดที่มีผลโดยตรงต่อการเต้นของหัวใจ และทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ที่ผ่อนคลำย เช่น เสียงธรรมชาติ ดนตรีบรรเลง มักจะถูกนำมาใช้ในสปา
    • ดนตรีบำบัดจะใช้การผสมผสานของทำนอง จังหวะ และกำรประสานเสียงของเครื่องดนตรี
    • เสียงสวดธรรมะ เสียงอ่านคัมภีร์ทำนอง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการบำบัดสุขภาพของแต่ละบุคคลตามความเหมาะสม
  • การจัดการด้านสัมผัส

    • ถือเป็นสิ่งที่ขำดเสียมิได้ของสปา เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ดึงดูดความสนใจและประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการสปา ทำให้เป็นรายได้หลักของการบริการโดยเฉลี่ยรายได้กว่าร้อยละ 70 มาจากการนวด อันเป็นการสัมผัสเพื่อผ่อนคลาย
    • ดังนั้น ผู้บริหารสปาจึงจำเป็นต้องรู้ถึงประโยชน์ของการนวดในแต่ละชนิด ข้อพึงระวังในกำรนวด ข้อห้ามสำหรับบุคคลบางประเภทที่ห้ามนวด
    • และต้องมีความรู้เกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยที่ใช้ผสมในน้ำมันนวด และความรู้ด้านสุขภาพเป็นพื้นฐาน
มาถึงตรงนี้คงพอเข้าใจงานด้านสปากันพอสมควร โอกาสหน้าจะนำเสนอกลยุทธ์การตลาดสปาต่ด้านราคา (Price) และอื่น ๆ ต่อไป โปรดติดตามได้ที่นี่ ค่ะ
 

ความคิดเห็น