
ประเภทของสปา
การแบ่งประเภทสปา มีการแบ่งประเภทตามคำนิยามขององค์กรสำคัญ 3 องค์กร ดังได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้น คือ
2.
การแบ่งประเภทสปา ตามกฎหมายไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข
3.
การแบ่งประเภทสปา ตามองค์ความรู้ โดยกระทรวงแรงงาน
ในโอกาสนี้ จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทสปาโดยองค์กรของไทย ซึ่งมีความแตกต่างจากการแบ่งประเภทแรก1. การแบ่งประเภทสปาในทางกฎหมายไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งตราเป็นพระราชบัญญัติสถานบริการ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 กำหนดรูปแบบของธุรกิจประเภทสปาไว้ 3 ประเภท ดังนี้
โดย กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายถึง การประกอบกิจการที่ให้การดูแลแลเสริมสร้างสุขภาพ โดยประกอบไปด้วยบริการหลัก และบริการเสริม ประเภทต่าง ๆ
บริการหลัก ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ
บริการเสริม หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรจัดให้มีอยู่ในเมนู เพื่อเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าสนใจให้มาใช้บริการบ่อยขึ้น และมีความหลากหลายในสปามากขึ้น
ตัวอย่างของกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การทำสมาธิและโยคะ การอบเพื่อสุขภาพ การแพทย์ทางเลือก การโภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร
2. การแบ่งประเภทสปา ตามองค์ความรู้ โดยคณะอนุกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาสถานบริการส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงแรงงาน
ได้จำแนกสปาตามองค์ความรู้ที่มาประยุกต์ใช้
เป็น 3
ประเภทใหญ่ ๆ คือ
2.1
สปาแบบตะวันตก (Western Spa) หรือ สปาตะวันตก
2.2
ไทยสบาย หรือ ไทยสัปปายะ (Thai Spaya)
2.3
ไทยสปา (Thai Spa)
โดยแต่ละประเภทแบ่งการบริการเป็น 4 สาขา คือ
- หัตถบำบัด
- วารีบำนัด
- สุคนธบำบัด
- โภชนบำบัด
ซึ่งแต่ละประเภทมีองค์ประกอบมาตรฐานการบริการที่แตกต่างกันโดยพิจารณาตามลักษณะเฉพาะของประเภทนั้น ๆ เช่น สปาตะวันตก สาขาหัตถบำบัด สปาไทย สาขาหัตถบำบัด มีองค์ประกอบมาตรฐานการบริการต่างกัน
โดยในความหมายของแต่ละประเภทอาจกล่าวโดยย่อได้ ดังนี้
2.1 สปาแบบตะวันตก (Western Spa) หรือ สปาตะวันตก
เป็นสถานที่ที่ให้บริการสุขภาพด้วยน้ำเป็นหลัก
โดยมาตรฐานการให้บริการแนวเดียวกับประเทศในแถบทวีปฝั่งตะวันตก
2.2 ไทยสบาย หรือ ไทยสัปปายะ (Thai Spaya)
เป็นสถานที่ที่ให้บริการสุขภาพองค์รวมแบบไทยเน้นการอบสมุนไพร
การใช้ลูกประคบ และการนวดไทย
คำว่า “สบาย” มาจากคำภาษาบาลีว่า สัปปายะ ซึ่งแปลว่าสถานหรือบุคคลซึ่งเป็นที่สหายเหมาะกัน
เกื้อกูลหรือเอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคอง
รักษาสมาธิ
2.3 ไทยสปา หรือสปาไทย (Thai Spa)
มีลักษณะการให้บริการคล้ายกับสปาแบบตะวันตก แต่มีการประยุกต์ภูมิปัญญาทางตะวันออกและภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การบริการในสถานที่เดียวกัน
*หมายเหตุ : องค์กรสปาระหว่างประเทศ (International Spa Association: ISPAEurope) จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสปา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น